เมนู

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
สารัมมณอธิปติธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. อนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
พิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ

4. อนันตรปัจจัย


[23] 1. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย
คือ สารัมมณธรรมที่เกิดก่อน ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.

5.สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


เป็นปัจจัย ด้วยพลังอำนาจของสมนันตรปัจจัย

มี 1 วาระ
เป็นปัจจัย ด้วยพลังอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 7 วาระ เหมือน
กับสหชาตปัจจัย ในปฏิจจวาระ
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ เหมือน
กับอัญญมัญญปัจจัยในปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ เหมือนกับ
นิสสยปัจจัยในปฏิจจวาระ.


9.อุปนิสสยปัจจัย


[24] 1. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลที่เข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ย่อมให้ทาน ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ ปัญญา ความปรารถนา สุขทางกาย
ทุกข์ทางกายแล้ว ย่อมให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด, ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลาย
สงฆ์.